เมนู

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยา-
ธิและมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ
(ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป
บทว่า ภิยฺโย กมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจ
อย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่
ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้าง
อุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่
ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการ
ถวายทานนั้น ๆ จึงถวายธุวภัต* (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหาร
แก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อม
สร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง 4. เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวาย
นั้น ๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการ
ทำกุศลนั้น ๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนกะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก
คือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ 8 ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอา
พระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ
(อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้
ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป).
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งบทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ
(ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ
* โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียร